มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้
มดเป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insect) อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) ในแต่ละชนิด มีหลายรุ่นใน 1 กลุ่ม ภายใน กลุ่มแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ (ภาพที่ 2 ) ดังนี้ ราชินี (queen) มี 1 หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่ที่สืบพันธุ์ได้ มดเพศผู้ (male)
มดหลายชนิดมีพฤติกรรมในการทำการเกษตรหรือเพาะปลูกพืชหรือเชื้อราบางชนิดเพื่อใช้เป็นอาหาร โดยเชื่อว่า มีพฤติกรรมเช่นนี้มานานถึง 30 ล้านปีแล้ว โดยการศึกษาของนักกีฏวิทยาพบว่า มดหลายชนิดมีพฤติกรรมการรู้จักการเพาะปลูกในเชิงสลับซับซ้อนคล้ายกับการเพาะปลูกของมนุษย์ รู้จักที่จะฝังเมล็ดพืชลงสู่พื้นดินอย่างไรถึงจะให้ผลผลิตที่ใช้เป็นอาหารได้ อีกทั้งรู้จักหลักในการควบคุมอุณหภูมิหรือความชื้นอีกด้วย
ปัจจุบัน มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997 พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด